วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของกำแพงเมืองสงขลา

ที่ตั้ง : กำแพงด้านทิศเหนืออยู่ริมตามแนวถนนจะนะจดกำแพงด้านตะวันตกตรงถนนนครใน และจดกำแพงด้านตะวันออกตรงถนนปละท่า ด้านทิศตะวันออกอยู่ริมตามแนวถนนรามวิถีจดกำแพงด้าน ทิศใต้ที่ถนนกำแพงเพชร (วัดหัวป้อม) ด้านทิศใต้ตามแนวถนนกำแพงเพชรจดกำแพงด้านตะวันตก ที่ถนนนครนอก และกำแพงด้านตะวันตกเลียบถนนนครใน แล้วเลาะแนวถนนนครในไปจดกำแพง ด้านทิศเหนือ

ประวัติความเป็นมา : กำแพงเมืองสงขลาเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2379 ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ทางกรุงเทพฯได้มีท้องตราลงมาให้ก่อกำแพงและป้อม โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ชั่ง ก่อกำแพงไม่ทันแล้วเสร็จ หัวเมืองมลายูเป็นกบฏ (พ.ศ.2381) ยกทัพมาเผาเมืองจะนะแล้วเลยเข้าตีเมืองสงขลา พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) รักษาเมืองไว้จนทัพหลวงจากกรุงเทพฯ ยกลงมาช่วยตีทัพกบฏมลายูแตกกลับไป แล้วช่วยก่อกำแพงเมืองสงขลาจนสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2385

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ : กำแพงเมืองสงขลาก่อด้วยหินสอปูน มีเชิงเทินใบเสมาเป็นรูปป้อม มีป้อม 8 ป้อม แต่ละป้อมมีปืนใหญ่กระสุน 4 นิ้ว ป้อมละ 3-4 กระบอก ประตูเมืองเป็นซุ้มใหญ่ 10 ประตู กับมีประตูเล็กอีก10ประตูโดยรอบ บัดนี้ยังคงเหลือแต่กำแพงด้านถนนจะนะ ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา (เรือนจำเก่า) กับที่ถนนนครในเท่านั้น
ข้อมูลจาก : kanchanapisek.or.th

ภาพข้างล่างนี้ เป็นภาพผังเมืองโบราณสงขลา คุณ ArChuRa นำมาให้ชมจากกระทู้นี้
ผังเมืองโบราณสงขลา



ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ.2478 ของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ
1 คือ เรือนจำ
2 คือ วัดดอนรักษ์ (ดอนรักในปัจจุบัน)
3 คือ ตลาดสด
4 คือ ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช
5 คือ ศาลารัฐบาลมณฑลนครศรีธรรมราช
6 คือ โรงหมอไคเซ

มองเห็นแนวกำแพงเมืองสงขลาขนานกับถนนจะนะ ข้างศาลารัฐบาลฯ (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา)

กำแพงอยู่บริเวณด้านหลังของธนาคารกสิกรไทย

มองตามแนวกำแพงไปทางทิศใต้ ทะลุประตูออกไปเจอถนนนครนอกครับ


เข้าใจว่าเป็นบ้านพักตำรวจ

เจอของดี ถูกทิ้งไว้อย่างไร้ค่า สิ่งนี้คืออะไร


ทำจากซีเมนต์ มีร่องรอยว่าเคยทาสีแดงมาก่อน

30 ใช่แล้วครับ ตู้ไปรษณีย์นั่นเอง

ตู้ไปรษณีย์แบบนี้ เริ่มใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 โน่นแนะครับ

ขอขอบคุณ http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,36091.msg113281.html

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์
ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์


ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์


ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร


ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่


ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความสำคัญของเวลา

ความสำคัญของเวลา

ความสำคัญของเวลา
มีคนบอกว่าเวลาไม่เคยรอใคร ช่วงนี้เราใช้เวลาอย่างไรกันบ้าง
ลองมาดูคุณค่าของเวลากันบ้างดีกว่านะเพื่อนนะ...แล้วจะได้ใช้ทุกนาทีอย่างมีคุณค่า...

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 10 ปีมีค่าขนาดไหน
>ถามคู่แต่งงานที่เพิ่งหย่าร้างกัน

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 4 ปีมีค่าขนาดไหน
>ถามนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งรับปริญญาจากมหาวิทยาลัย

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 ปีมีค่าขนาดไหน
>ถามนักเรียนที่สอบไล่ตก

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 9 เดือนมีค่าขนาดไหน
>ถามแม่ที่เพิ่งคลอดลูก

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 เดือนมีค่าขนาดไหน
>ถามมารดาที่คลอดบุตรยังไม่ครบกำหนด

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 อาทิตย์มีค่าขนาดไหน
>ถามบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 ชั่วโมงมีค่าขนาดไหน
>ถามคนรักที่รอพบกัน

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 นาทีมีค่าขนาดไหน
>ถามคนที่พลาดรถไฟ รถประจำทาง หรือเรือบิน

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลา 1 วินาทีมีค่าขนาดไหน
>ถามคนที่รอดตายจากอุบัติเหตุอย่างหวุดหวิด

ถ้าท่านอยากรู้ว่าเวลาเสี้ยวหนึ่งของวินาทีมีค่าขนาดไหน
>ถามนักกีฬาโอลิมปิคที่ชนะเหรียญเงิน

ถ้าท่านอยากรู้ว่ามิตรภาพมีค่าขนาดไหน
>เสียเพื่อนสักคนหนึ่ง

เวลาไม่เคยรอใคร เมื่อมันผ่านไปแล้ว
>มันจะไม่กลับมาอีก

จงใช้เวลาของท่านทุกขณะอย่างดีที่สุด ท่านจะรู้คุณค่าของเวลาเมื่อท่านแบ่งปันกับคนที่พิเศษสุดในชีวิตของท่าน

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราช

การนับศักราช
1. การนับศักราชแบบไทย
ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี
1.1 พุทธศักราช(พ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยเริ่ม พ.ศ. 1 ปีที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บางยุคสมัยต่อมาเปลี่ยนไปใช้ศักราชแบบอื่นบ้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ประกาศให้ใช้การนับศักราช พ.ศ.เป็นทางการ มาจนถึงปัจจุบัน
1.2 มหาศักราช(ม.ศ.) เป็นศักราชที่พระเจ้ากนิษกะกษัตริย์อินเดียตอนเหนือคิดขึ้นมาใช้ เมื่อ พ.ศ.622 หลักฐานที่มีการใช้คือ หลักศิลาจารึก หลักที่ 1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
การเทียบ ม.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621 (ม.ศ.+621 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ม.ศ. ให้ลบ ด้วย 621 (พ.ศ.- 621 = ม.ศ.)
1.3 จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นสักราชที่กษัตริย์พม่าสมัยพุกามเป็นผู้ตั้งขึ้น ได้แพร่มาสู่ไทยสมัยอยุธยา ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ พบมากในพงศาวดาร ตำนาน และจดหมายเหตุ
การเทียบ จ.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181 (จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น จ.ศ. ให้ลบ ด้วย 1181 (พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.)
1.4 รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่รัชกาลที่5โดยเริ่มนับร.ศ.1ปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2325)
การเทียบ ร.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2325 (ร.ศ. + 2325 = พ.ศ.)
การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ร.ศ. ให้ลบด้วย 2325 (พ.ศ. - 2325 = ร.ศ.)

2. การนับศักราชแบบ สากล ชาวต่างประเทศที่เข้าในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้บัทึกเรื่องราวที่ตนพบเห็นเป็นศักราชดังนี้ 2.1 คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับ ค.ศ. 1 เมื่อ พระเยซูประสูติ(ตรงกับพ.ศ. 544) 2.2 ฮิเราะห็ศักราช (ฮ.ศ) เป็นศาสนาของศาสนาของอิสลาม เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ในปีที่พระนบี มุฮัมหมัดศาสดาของศาสนาอิสลามหนีออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา(ตรงกับ พ.ศ. 1123) การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งเป็น 2 สมัย คือ 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่ยังไม่มีการใช้การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่ง 2 ยุคย่อย คือ 1.1 ยุคหิน (ในดินแดนประเทศไทย)
ยุคหินเก่า 700,000 - 10,000 ปีมาแล้ว พบเครื่องมือหินกรวดกระเทาะหน้าเดียว ที่อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, บ้านเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีและอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่
ยุคหินกลาง 10,000 - 4300 ปีมาแล้ว รู้จักประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา ใช้เครื่องมือทำด้วยหินที่ประณีต รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ฝังศพ แหล่งพบหลักฐาน ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน , ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ยุคหินใหม่ 4300 - 2000 ปีมาแล้ว เครื่องมือทำด้วยหินขัด โดยตกแต่งให้ใช้งานดีขึ้นกว่าเดิมพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้ประณีตมากขึ้น เช่นทำแบบมีสามขา เขียนลวดลายและสี
แหล่งค้นพบ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี, บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี, บ้านโนนนกทาจัหวัดขอยแก่น 1.2. ยุคโลหะ แบ่งย่อยเป็น
ยุคสำริด 3500 ปี - 2500 ปี รู้จักถลุงแร่นำมาผสมเรียกว่าสำริด คือทองแดงกับดีบุก เพื่อทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น มีด ขวาน หอก หัวลูกศร กลอง แหวน กำไร ฯลฯแหล่งค้นพบ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี , บ้านโคกพลับจังหวัดราขบุรี
ยุคเหล็ก 2500 ปี - 1500 ปี มาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กมาทำเป็นอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้แหล่งค้นพบ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี , บ้านเชียง จ.อุดรธานี 2. สมัยประวัติศาสตร์ (ในประเทศไทย) เริ่มนับจากปีที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย การแบ่งสมัยประศาสตร์ของไทยแบ่งได้ 3 ลักษณะ 1. แบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี ได้แก่ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ 2. แบ่งตามลักษณะการปกครอง คือสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช และสมัยประชาธิปไตย 3. แบ่งตามประสัติศาสตร์สากล คือ
สมัยโบราณ เริ่มก่อนสุโขทัย จนสิ้นสมัยรัชกาลที่ 3
สมัยใหม่ (สมัยปรับปรุงประเทศ) เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงพ.ศ. 2475
ปัจจุบัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน
วิธีการเทียบศักราช
เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ. พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543 พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621 พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181 พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]

วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราช

การนับศักราช


ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้
ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.)
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน การที่จะเทียบ
ศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้
ระยะเวลาที่ต่าง
1. พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี
2. พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
3. พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี
4. พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี
5. คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี
6. คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี
7. คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี
8. มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี
9. มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี
10. จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี
พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวัน
เพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน
อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่
โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา
พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้ว
นับได้ 543 ปี การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่ม
ในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1
คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติ
จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับศักราชของประเทศพม่า เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181
ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิง
ราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่
รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้าง
กรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.
วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ.
1.) พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543
2.) พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621
3.) พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181
4.) พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324
เดิมเราถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันเปลี่ยนศักราชใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2483
เราจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงศักราชใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นไปตามสากลนิยม ดังนั้นก่อน
พ.ศ. 2484 ย้อนขึ้นไป พุทธศักราชจึงคาบเกี่ยวกับคริสต์ศักราช 2 ปี เช่น พ.ศ. 2483 เป็น
คริสต์ศักราช 1940 กับ 1941 คาบเกี่ยวกันเพื่อความสะดวกให้ดูตารางเทียบศักราชต่อไป
ฮิจเราะห์ศักราช
คำว่า ฮิจญเราะห์ แปลว่า การอพยพฮิจญ์เราะหฺศักราชผู้เริ่มกำหนดใช้ศักราชหฮิจญ์เราะหฺเป็นคน
แรกคือ อิมามอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบในสมัยการปกครองของอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ (คอลีฟะหฺคนที่
2) ซึ่งประกาศใช้ในปีที่ 7 หลักการอพยพ (ค.ศ. 629) โดยยึดปีที่นบีมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่ง
อิสลาม อพยพออกจากเมืองมักกะหฺ(เมกกะ)สู่มะดีนะหฺ ในปี ค.ศ. 622 เป็นต้นศักราชฮิจญ์เราะหฺ
อักษรย่อ ฮิจญ์เราะหฺ คือ ฮ.ศ. ในภาษาอังกฤษนิยมใช้ H.E. (Hijrah Era) หรือ A.H.
(Anno Hejira)ระบบปฏิทินของหิจญเราะหฺศักราช เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ นั่นคือ จะใช้
ดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ดังนั้นในหนึ่งปีจันทรคติจึงมี 354 วันหากเป็นปีธิกสุรทิน
และ 355 วันหากเป็นปีอธิกสุรทินในรอบ 30 ปีจะมีธิกสุรทิน 19 ครั้ง และอธิกสุรทิน 11 ครั้ง
ชนมุสลิมใช้ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจนถึงทุกวันนี้
ฮิจเราะห์ศักราช เริ่มนับเมื่อนบีมุฮัมมัด อพยพออกจากเมืองมักกะหฺ(เมกกะ)สู่มะดีนะหฺ